แพทย์ประจำบ้านโสต ศอ นาสิกวิทยา ชั้นปีที่ 3 ทุกคน ได้ไปนำเสนอผลงานวิจัย ที่งานประชุม IFOS World congress ณ เมืองปารีส ประเทศฝรั่งเศส
นับเป็นเรื่องที่น่าภาคภูมิใจอย่างยิ่งของคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อผลงานวิจัยของแพทย์ประจำบ้านชั้นปีที่ 3 ภาควิชาโสต ศอ นาสิกวิทยา ทั้งรุ่น (6 คน) ที่เพิ่งสำเร็จการศึกษาไป ได้รับการคัดเลือกให้นำเสนอผลงานทางวิชาการ ที่งานประชุมระดับโลก
โดย ศ.พญ.เสาวรส ภทรภักดิ์ หัวหน้าภาควิชา โสต ศอ นาสิกวิทยา คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย อาจารย์ และแพทย์ประจำบ้านชั้นปีที่ 3 ได้ไปเข้าร่วมการประชุม “The IFOS World congress of Otorhinolaryngology and Head and Neck surgery”ที่ Palais des congrès de Paris ณ กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส เมื่อวันที่ 24-28 มิถุนายน 2560 ซึ่งการประชุมนี้ถือเป็นการประชุมวิชาการของแพทย์หูคอจมูกจากทั่วทุกมุมโลก ซึ่งทั่วไปจะมีการจัดงานขึ้นทุก 4 ปี มีการแบ่งส่วนงานประชุมในทุกสาขาของ หู คอ จมูก คือ Head and neck, Otology, Rhinology, Laryngology, Facial Plastic และ Obstructive sleep apnea โดยมีทั้งในส่วนของการบรรยายทางวิชาการ, workshop, research E-poster presentation และ research oral presentation
ภาควิชา โสต ศอ นาสิกวิทยา คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้มีผลงานทางวิชาการไปนำเสนอ ทั้งหมด 7 เรื่อง ประกอบไปด้วย
ผลงานอาจารย์ 1 เรื่อง คือ Eosinophilic chronic rhinosinusitis : From research to practice ของ รศ.ดร.มล.นพ.กรเกียรติ สนิทวงศ์ ซึ่งได้ นำเสนอเป็น Instructional course ในรูปแบบ E-poster presentation
ผลงานของแพทย์ประจำบ้านชั้นปีที่ 3 ที่ได้ทำงานวิจัยร่วมกับอาจารย์ 6 เรื่อง ประกอบด้วย 1.Diagnostic accuracy of split-night polysomnography for obstructive sleep apnea โดย พญ.พิชชาพร ธนาพงศธร
- 2. Abnormal vestibular function, the cause of motion sickness, really? โดย พญ.กฤษณพร จิรวรากุล
- 3. Effect of nasal irrigation to nasal mucociliary clearance in laryngectomized patients โดย นพ.ภาคย์ นิมิตพรสุโข
- 4. The additional effects of decongestant when combined with intranasal corticosteroid for allergic rhinitis: systematic review and meta-analysis โดย นพ.ลิขิต ขัตติยวิทยากุล 5. Nasal cytology as a diagnostic tool for local allergic rhinitis โดย พ.ญ.ณิชารีย์ โพธิจินดากุล
- 6. The additional effects of leukotriene receptor antagonists when combined with antihistamines for allergic rhinitis : systematic review and meta-analysis โดย นพ.ขจร เสรีศิริขจร ซึ่งผลงานของแพทย์ประจำบ้านได้นำเสนอในรูปแบบ E-poster presentation
และ มี 2 เรื่อง ได้นำเสนอในรูปแบบ oral presentation ด้วยคือ Abnormal vestibular function, thecause of motion sickness, really? โดย พญ.กฤษณพร จิรวรากุล และ Nasal cytology as a diagnostic tool for local allergic rhinitis โดย พ.ญ.ณิชารีย์ โพธิจินดากุล